คอมพิวเตอร์

  คอมพิวเตอร์

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ระดับปริญญาตรี ในประเทศไทย กำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ ตาม มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2552[1] แบ่งเป็นสาขาดังนี้
  1. สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ (CS)
  2. สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CE)
  3. สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SE)
  4. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร (IT)
  5. สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (BC)
โดยอ้างอิงจากการจัดหลักสูตร ของ The Association for Computing Machinery (ACM), The Association for Information Systems (AIS) และ The Institute of Electrical and Electronics Engineer - Computer Society (IEEE-CS) ชึ่งได้แบ่ง องค์ความรู้ของสาขาคอมพิวเตอร์ออกเป็น 5 ด้านหลัก คือ
  1. องค์การและระบบสารสนเทศ
  2. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานประยุกต์
  3. เทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์
  4. โครงสร้างพื้นฐานของระบบ
  5. ฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
โดยทั้ง 5 สาขาวิชานั้น มุ่งเน้นองค์ความรู้ ที่แตกต่างกัน

ทั้งนี้ยังมีสาขาอื่นๆ ที่ เรียนต้านคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์ศึกษา (Computer Education) ระบบสารสนเทศ (Information System) เป็นต้น

เนื้อหาสาระสำคัญของสาขาคอมพิวเตอร์

เนื้อหาสาระสำคัญของสาขาคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ความรู้ (Body of Knowledge) ด้านคอมพิวเตอร์ จำแนกตามสาขาวิชาได้ดังนี้
  1. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    1. โครงสร้างดิสครีต (Discrete Structures)
    2. พื้นฐานการเขียนโปรแกรม (Programming Fundamentals)
    3. ความซับซ้อนและขั้นตอนวิธี (Algorithms and Complexity)
    4. โครงสร้างและสถาปัตยกรรม (Architecture and Organization)
    5. ระบบปฏิบัติการ (Operating Systems)
    6. การประมวลผลเครือข่าย (Net-Centric Computing)
    7. ภาษาการเขียนโปรแกรม (Programming Languages)
    8. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Human-Computer Interaction)
    9. กราฟิกและการประมวลผลภาพ (Graphics and Visual Computing)
    10. ระบบชาญฉลาด (Intelligent Systems)
    11. การจัดการสารสนเทศ (Information Management)
    12. ประเด็นทางสังคมและวิชาชีพ (Social and Professional Issues)
    13. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
    14. ศาสตร์เพื่อการคำนวณ (Computational Science)
  2. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    1. พื้นฐานการเขียนโปรแกรม (Programming Fundamentals)
    2. คณิตศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ (Computer Mathematics)
    3. อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)
    4. ตรรกศาสตร์ดิจิทัล (Digital Logic)
    5. โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี (Data Structures and Algorithms)
    6. โครงสร้างและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Architecture and Organization)
    7. ระบบปฏิบัติการ (Operating Systems)
    8. ระบบฐานข้อมูล (Database Systems)
    9. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
    10. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks)
  3. สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
    1. ความจำเป็นของคอมพิวเตอร์ (Computing Essentials)
    2. พื้นฐานคณิตศาสตร์และวิศวกรรม (Mathematical and Engineering Fundamentals)
    3. วิชาชีพภาคปฏิบัติ (Professional Practices)
    4. การวิเคราะห์และการสร้างแบบจำลองซอฟต์แวร์ (Software Modeling and Analysis)
    5. การออกแบบซอฟต์แวร์ (Software Design)
    6. การทวนสอบและทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Validation and Verification)
    7. วิวัฒนาการของซอฟต์แวร์ (Software Evolution)
    8. กระบวนการทางซอฟต์แวร์ (Software Process)
    9. คุณภาพซอฟต์แวร์ (Software Quality)
    10. การจัดการซอฟต์แวร์ (Software Management)
  4. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
    1. พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Fundamentals)
    2. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Human-Computer Interaction)
    3. ความมั่นคงและการประกันสารสนเทศ (Information Assurance and Security)
    4. การจัดการสารสนเทศ (Information Management)
    5. การบูรณาการการเขียนโปรแกรมและเทคโนโลยี (Integrative Programming and Technologies)
    6. คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ (Mathematics and Statistics for Information Technology)
    7. เครือข่าย (Networking)
    8. พื้นฐานการเขียนโปรแกรม (Programming Fundamentals)
    9. แพลตฟอร์มเทคโนโลยี (Platform Technologies)
    10. การบำรุงรักษาและการบริหารระบบ (Systems Administration and Maintenance)
    11. สถาปัตยกรรมและการบูรณาการระบบ (Systems Integration and Architecture)
    12. ประเด็นทางสังคมและวิชาชีพ (Social and Professional Issues)
    13. ระบบเว็บและเทคโนโลยี (Web Systems and Technologies)
  5. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
    1. พื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Computer and Information Technology Fundamentals)
    2. การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming)
    3. โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี (Data Structures and Algorithms)
    4. การเขียนโปรแกรมบนเว็บ (Web Programming)
    5. ระบบฐานข้อมูล (Database Systems)
    6. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems)
    7. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analysis and Design)
    8. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networking)
    9. ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ (Information Systems Security)
    10. โครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อธุรกิจ (Business Computer Project)
    11. ทักษะการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ (Computer Software Usage Skill)

  ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

1.ประโยชน์ด้านการศึกษา ใช้เพื่องานด้านการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ เช่นการ
นำบทเรียน การผลิตสื่อการสอน การใช้ซีดีรอมสำหรับการเรียนรู้ เกมเพื่อการศึกษาหรือ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2.ด้านความบันเทิง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เช่น เล่นเกม
ฟังเพลงชมภาพยนต์
3.ด้านการเงิน การธนาคาร ใช้ในการเบิก - ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การโอนเงินด้วย
ระบบด้วยอัตโนมัติโดยโอนเงินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ การดูข้อมูลตลาดหุ้นการทำกราฟแสดงยอดขาย
4.ด้านการสื่อสารและคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต สื่อสาร
ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์ การคมนาคมทางเรือ เครื่องบิน
และรถไฟฟ้า
5.ด้านศิลปะและการออกแบบ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนออกแบบ
งานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์
6.ด้านการแพทยปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านการแพทย์หลายด้าน
เช่น การเก็บประวัติคนไข้ การใช้ทดลองประกอบการวินิจฉันของแพทย์ใช้ในการตรวจ
เลือก ตรวจปัสสาวะ การผ่าตัดหัวใจการตรวจสอบห้องพักผู้ป่วยว่าว่างหรือไม่ การ
ควบคุมแสงเลเซอร์การเอ็กซ์เรย์ การตรวจคลื่อนสมองคลื่นหัวใจ เป็นต้น
7.ด้านวิทยาศาสตร์และเคมี ใช้ในการวิเคราะห์สูตรทางเคมีการคำนวณสูตรทาง
วิทยาศาสตร์การค้นคว้าทดลองในห้องวิทยาศาสตร์ การคำนวณเกี่ยวกับระบบสุริยะ
จักรวาลและการเกิดปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงดาวต่างๆ

การสร้างเว็บด้วย Blogger

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น